รบกวนสอบถามคะ
1.บริษัท A ( BOI ) ประเภท กิจการผลิตและส่งออก ต่อมา บริษัท B ( BOI) ประเภท กิจการผลิตส่งออกเช่นเดียวกันผลิตสินค้าเหมือนกัน ต่อมาพบว่า B วัตถุดิบไม่เพียงพอ ไปขอซื้อ วัตถุดิบจาก A มาเพื่อผลิต
- 1.1 แบบนี้สามารถทำได้หรือไม่
- 1.2 กรณีได้ จะคืน Report V ได้ปกติใช่ไหมคะ
1. เท่าที่ตรวจสอบประกาศ BOI ไม่พบว่ามีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการโอนวัตถุดิบ
จะมีเพียงคู่มือการปฏิงานของ จนท BOI และแบบฟอร์มในการขอโอน/รับโอนวัตถุดิบ และกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติการโอน
2. แนวทางการพิจารณาของ BOI มีหลักเกณฑ์เพียงว่า ผู้โอนและผู้รับโอนต้องมีบัญชีรายการวัตถุดิบที่จะโอน/รับโอนตรงกัน ยังอยู่ในระหว่างระยะเวลาที่ได้รับสิทธิตามมาตรา 36 และปริมาณที่จะโอนต้องไม่เกินปริมาณสูงสุด (Max Stock) ของผู้รับโอน
3. ในการอนุมัติให้โอน/รับโอนวัตถุดิบ ผู้รับโอนจะต้องมีหนังสือยืนยันว่า หากไม่นำวัตถุดิบที่ได้รับโอนไปผลิตส่งออก ผู้รับโอนจะยินยอมชำระภาษีอากรขาเข้าตามสภาพ ณ วันนำเข้า แทนผู้โอน
ปัญหาเกี่ยวกับการโอน/รับโอนวัตถุดิบ จะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้โอนเลิกกิจการหลังจากการโอนวัตถุดิบ และผู้รับโอนไม่นำวัตถุดิบนั้นไปผลิตส่งออก
กรณีนี้ รัฐจะไม่สามารถจัดเก็บภาษีของวัตถุดิบนั้นได้ เนื่องจากผู้ที่มีภาระภาษี (= ผู้นำเข้า = ผู้โอน) ได้เลิกกิจการไปแล้ว
การพิจารณาอนุมัติ/ไม่อนุมัติ จึงเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของ จนท BOI ที่ต้องพิจารณาโดยรอบคอบ
เนื่องจากปัจจุบัน BOI ไม่มีประกาศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติการโอน/รับโอนวัตถุดิบ
ดังนั้น การพิจารณาจึงขึ้นอยู่กับ จนท และ ผอ. ของกองนั้นๆ
จึงแนะนำให้ปรึกษากับ จนท ผู้รับผิดชอบโครงการของบริษัทโดยตรง
หาก BOI พิจารณาไม่อนุมัติให้โอน/รับโอนวัตถุดิบ อาจต้องแก้ปัญหาโดยให้บริษัท A (ผู้นำเข้า) ขออนุญาตส่งวัตถุดิบไปต่างประเทศ (เช่น ส่งไปในเขต Free Zone) จากนั้น บริษัท B ยื่นขอสั่งปล่อยนำเข้าจาก Free Zone ครับ
(เพิ่มเติม)
กรณีที่ BOI อนุมัติให้โอน/รับโอนวัตถุดิบ จะออกเป็นหนังสืออนุมัติและบัญชีรายการปริมาณวัตถุดิบที่จะให้โอน/รับโอน
ซึ่งบริษัทต้องนำหนังสืออนุมัตินี้ไปยื่นปรับยอดที่ IC (คือยังไม่การอนุมัติและปรับยอดแบบ paperless) ครับ