FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

108 คำถามกับงาน BOI / วัตถุดิบ มาตรา 36 / การส่งออก และตัดบัญชีวัตถุดิบ
ส่งออกวัตถุดิบที่ซื้อมาจากบริษัทในประเทศที่ใช้สิทธิ ม.36
1 - 6 จาก 6 คำตอบ
page: 1/1
ZATH เมื่อ 17 พย 64, 15:39 น.

เรียนสอบถามกรณีเราส่งออกวัตถุดิบไปต่างประเทศ โดยวัตถุดิบนั้นเป็นวัตถุดิบที่ซื้อมาจากผู้ผลิตในประเทศที่นำเข้าชิ้นส่วนภายใต้ ม.36 แล้วนำมาประกอบบางส่วนก่อนส่งขายให้เรา ในกรณีนี้เราจะคืนวัตถุดิบให้เวนเดอร์อย่างไรคะ สอบถามทางไอซีไปบอกว่าทำไม่ได้ (เพระาเราไม่สามารถระบุ เลข นร นำเข้าของเวนเดอร์ได้)

ขอยกตัวอย่าง คือ เราซื้อวัตถุดิบ ก. มาจากเวนเดอร์ (เวนเดอร์นำเข้า วัตถุดิบ ก.1 ภายใต้ ม.36 มาประกอบกับ ก.2 แล้วกลายเป็นวัตถุดิบ ก.) ขอแบ่งเป็น 2 กรณีย่อย คือ

1.เราส่งออกวัตถุดิบ ก. ไปต่างประเทศ ต้องการคืน วัตถุดิบ ก. ให้เวนเดอร์

2. เรานำวัตถุดิบ ก. มาผลิตต่อ กลายเป็น วัตถุดิบ ข. (Semi FG) แล้วส่งออกไปต่างประเทศ ต้องการคืน วัตถุดิบ ก. ให้เวนเดอร์

ปล ปกติกรณ๊เราผลิตจนเป็นผลิตภัณฑ์ พอตัดบัญชีสามารถโอนยอด วัตถุดิบ ก. ให้เวนเดอร์ ได้ตามปกติค่ะ

 

 

ADMIN เมื่อ 17 พย 64, 16:24 น. #1

ขอเปลี่ยนคำถามให้เข้าใจง่ายขึ้นดังนี้ (หากไม่ถูกต้อง ช่วยแจ้งเพิ่มเติมด้วยครับ)

1. บริษัท A ซื้อวัตถุดิบจากบริษัท B มาผลิตเป็นสินค้าส่งออก จากนั้นตัดบัญชี และโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้กับบริษัท B ได้ตามขั้นตอนปกติ

2. หากบริษัท A ซื้อวัตถุดิบจากบริษัท B แล้วนำไปส่งออก จะตัดบัญชีและโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้บริษัท B ได้หรือไม่

ตอบ)

2.1 หากบริษัท A ไม่ได้รับส่งเสริมในกิจการ ITC หรือ IPO 

- การที่บริษัท A ซื้อวัตถุดิบจาก B มาส่งออก ถือเป็นการประกอบกิจการที่ไม่ได้รับส่งเสริม จึงไม่สามารถขออนุมัติสูตรการผลิตเพื่อตัดบัญชีและโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้กับ B ได้

- กรณีนี้บริษัท A สามารถระบุเลขนิติบุคคล 13 หลักของบริษัทผู้รับโอน (คือบริษัท B) ในช่อง remark ของใบขนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้รับโอนสามารถดึงใบขนดังกล่าวไปตัดบัญชีได้โดยตรง

2.2 หากบริษัท A ได้รับส่งเสริมในกิจการ ITC หรือ IPO 

- สามารถขออนุมัติสูตรการผลิต (สูตรแบบ 1:1) เพื่อตัดบัญชีและโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้กับบริษัท B ได้ตามขั้นตอนปกติ

3. หากบริษัท A ซื้อวัตถุดิบจากบริษัท B แล้วนำไปผลิตเป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูป เพื่อส่งออก จะตัดบัญชีและโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้บริษัท B ได้หรือไม่

ตอบ)

- หากในบัตรส่งเสริมไม่ระบุให้มีการผลิตสินค้ากึ่งสำเร็จรูป บริษัท A จะไม่สามารถขออนุมัติสูตรสินค้ากึ่งสำเร็จรูป เพื่อตัดบัญชีและ/หรือโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับบริษัท B 

- และไม่สามารถใช้วิธีตามข้อ 2.1 เพื่อโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับบริษัท B เนื่องจากสินค้าที่บริษัท A ส่งออก เป็นคนละรายการกับวัตถุดิบที่ซื้อมาจาก B ครับ

ZATH เมื่อ 17 พย 64, 18:22 น. #2

ขอบคุณมากค่ะ ของเราเป็นกรณี ข้อ 2.1 ค่ะ จะนำวิธี ระบุเลขนิติบุคคล 13 หลักของบริษัทผู้รับโอน ไปสอบถามทางไอซีและผู้รับโอนอีกทีนะคะ

ZATH เมื่อ 18 พย 64, 10:19 น. #3

สอบถามไปทางเวนเดอร์เขาไม่เคยทำเคสแบบนี้ค่ะ พอสอบถามไปทางไอซีแหลมฉบังว่าทางเวนเดอร์สามารถนำใบขนนี้มาปรับยอดได้หรือไม่ ทางไอซีแจ้งว่าไม่เคยทำเคสนี้เช่นเดียวกันค่ะ ดิฉันขอทำความเข้าใจกระบวนการนี้ว่าเป็นดังนี้หรือไม่นะคะ

1. เราส่งออกวัตถุดิบที่ซื้อมาจากเวนเดอร์ โดยตอนทำใบขนให้ระบุเลขนิติบุคคล 13 หลักของบริษัทผู้รับโอน (คือบริษัท B) ในช่อง remark

2. ส่งใบขนดังกลาวให้เวนเดอร์นำใบปรับยอด

3. เวนเดอร์นำใบขนไปคีย์ไฟล์ xxx ? เพือปรับยอดที่ไอซี --> ขั้นตอนนี้ต้องทำอย่างไรคะ (ทางไอซีแจ้งว่าให้สอบถามกับ จนท บีโอไอค่ะ)

 

ADMIN เมื่อ 18 พย 64, 13:04 น. #4

การส่งออกผ่าน Trading (ตามตัวอย่างที่สอบถาม A คือ Trading และ B คือผู้ผลิต) มีขั้นตอนในการตัดบัญชีตาม ประกาศ สกท ที่ ป.2/2564 คือ

1. A ต้องทำใบขนอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 8 (1.4) ของประกาศ และระบุเลข 13 หลักของ B ในช่อง remark ของรายการสินค้าในใบขนฯ ที่จะโอนสิทธิตัดบัญชีให้ B

2. จากนั้น A แจ้งเลขที่/วันที่ใบขนฯ ให้ B ทราบ

3. หลังจากใบขนฯขึ้นระบบ IC Online แล้ว B จะสามารถดึงข้อมูลใบขนดังกล่าว เฉพาะรายการที่ระบุการโอนสิทธิให้ B มาตัดบัญชีตามขั้นตอนปกติต่อไป ครับ

ZATH เมื่อ 18 พย 64, 16:32 น. #5

กรณีที่สอบถาม A เป็นผู้ผลิตเหมือนกันน่ะค่ะ แต่จะขอส่งวัตถุดิบไปต่างประเทศค่ะ ทำวิธีนี้ได้เหมือนกันใช่ไหมคะ

ADMIN เมื่อ 18 พย 64, 16:45 น. #6

สามารถทำได้ โดยกิจการในส่วนซื้อมา-ขายไป (ส่งออก) นี้ จะเป็นกิจการส่วนที่ไม่ได้รับส่งเสริม

โดยหากกิจการที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิมยังอยู่ในช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทจะต้องจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกิจการซื้อมา-ขายไปนี้ แยกจากกิจการส่วนที่ได้รับส่งเสริม

และจะนำสิทธิประโยชน์ที่ได้รับอยู่เดิมมาใช้กับกิจการส่วนที่ไม่ได้รับส่งเสริมนี้ไม่ได้


และหาก A เป็นนิติบุคคลต่างชาติ (หุ้นต่างชาติมากกว่ากึ่งหนึ่ง) จะต้องไม่ใช่การซื้อมาเพื่อนำไปจำหน่ายในประเทศ มิฉะนั้นจะขัดกับ พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ด้วย ครับ