บัตรปี 56 หมวดหมู 5.1 , 5.3 เปิดดำเนินการแล้ว สามารถแก้ไขกำลังการผลิตหลังเปิดดำเนินการแล้ว และขอเพิ่มปริมาณสตอคของวัตถุดิบได้หรือไม่คะ
เหตุผลที่ผลิตมากกว่าที่ระบุตอนเปิดดำเนินการ เนื่องจากการดำเนินการช้ากว่าที่คาดการณ์ทำให้มีการนำเข้าเครื่องจักรและขยายไลน์การผลิตช้ากว่ากำหนด รวมถึงมีความต้องการใช้สินค้าจากลูกค้ามากกว่าที่คาดการณ์ในตอนแรกจึงมีการนำเข้าเครื่องจักรเพิ่มขึ้นและขยายไลน์การผลิตมากขึ้นด้วยค่ะ
1. กิจการ 5.1 และ 5.3 ตามบัญชีประเภทกิจการเดิม คือ การผลิตเครื่องไฟฟ้า และชิ้นส่วน ซึ่งหากได้รับบัตรส่งเสริมในปี 2556 จะได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์ของ ประกาศ กกท ที่ 4/2549 คือได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม
2. ตาม ประกาศ กกท ที่ 6/2549 ระบุว่า ให้โครงการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วน สามารถนำเครื่องจักรเข้ามาเพื่อปรับปรุงและทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกำลังผลิตในโครงการเดิมไม่ว่าเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วหรือไม่ก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริมโดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
3. นโยบายฉบับปัจจุบัน คือ ประกาศ กกท ที่ 2/2557 ข้อ 10.3 ระบุว่า ให้โครงการที่ได้รับส่งเสริมสามารถนำเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม กรณีที่เป็นเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน เพื่อปรับปรุงและทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกำลังผลิตในโครงการเดิม ไม่ว่าจะได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วหรือไม่ก็ตาม โดยมีผลกับคำขอรับการส่งเสริมที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
กรณีที่สอบถาม เป็นโครงการที่ได้รับส่งเสริมในปี 2556 เพื่อผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วน ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริม
หากประสงค์จะนำเข้าเครื่องจักรมาเพื่อเพิ่มกำลังผลิตของโครงการเดิมภายหลังจากเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว และจะขอเพิ่ม Max Stock ของวัตถุดิบได้หรือไม่นั้น
ความเห็นของแอดมิน เห็นว่าบริษัทสามารถยื่นขอนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มกำลังผลิตได้ ตามประกาศ กกท ที่ 6/2549
แต่ BOI อาจจะอนุมัติให้แก้ไขเฉพาะบัญชีรายการเครื่องจักร เพื่อให้บริษัทนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมโดยยกเว้นภาษีอากรได้ แต่อาจไม่อนุมัติให้แก้ไขกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม เนื่องจากโครงการที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการไปแล้ว จะไม่มีการตรวจสอบเปิดดำเนินการเป็นรอบที่ 2 อีก
ดังนั้น หาก BOI ให้แก้ไขกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม แต่บริษัทไม่ได้นำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมจริง จะเท่ากับป็นการขยายกรอบการยกเว้นยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และกรอบการอนุมัติปริมาณ Max Stock ของวัตถุดิบให้กับโครงการเดิม โดยอาจไม่มีการนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มจริง
จากการสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่พบว่าเคยเจอกรณีลักษณะนี้ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จึงไม่สามารถให้คำแนะนำที่ชัดเจนได้มากกว่านี้
จึงอาจจะต้องปรึกษากับเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโครงการของบริษัท และอาจจะต้องลองยื่นคำร้องขอแก้ไขโครงการ เพื่อเป็นกรณีตัวอย่างศึกษา ครับ
งงเล็กน้อยค่ะ ประกาศ กกท ที่ 2/2557 ที่ระบุให้เพิ่มกำลังผลิตในโครงการเดิม ได้สำหรับคำขอตั้งแต่ 1 มค 58 นั้นไม่ได้ยกเลิก ประกาศ กกท ที่ 4/2549 และ ประกาศ กกท ที่ 6/2549 ที่ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นโครงการที่ยื่นเมื่อใดที่สามารถเพิ่มกำลังผลิตในโครงการเดิมได้ หรือว่าทั้งสองประกาศโดนยกเลิกไปแล้วจากประกาศอื่นหรือคะ
ประกาศ กกท ที่ 4/2549 และ 6/2549 ไม่ได้ถูกยกเลิกโดยประกาศ กกท ที่ 2/2557
บริษัทที่ได้รับส่งเสริมในกิจการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วน จึงยังสามารถขอนำเครื่องจักรเข้ามาปรับปรุงหรือทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกำลังผลิตได้ โดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร แม้จะเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วก็ตาม
แต่ทั้งนี้ ประกาศ กกท ที่ 4/2549 และ 6/2549 ไม่ได้ระบุว่า กำลังผลิตที่เพิ่มขึ้น จะให้ได้รับสิทธิประโยชน์หรือไม่/อย่างไร
ความเห็นของแอดมิน คือ อาจเป็นไปได้ ที่ BOI อาจไม่ให้ได้รับสิทธิการยกเว้นภาษีเงินได้ และ/หรือ การเพิ่ม Max Stock สำหรับกำลังผลิตในส่วนที่เพิ่มขึ้น ตามเหตุผลที่อธิบายในคำตอบ #1 ครับ
ขออนุญาตสอบถามต่อนะคะ
กรณีถ้าบริษัทต้องการไปขอเพิ่มเติมสิทธิ์การนำเข้าเครื่องจักรตามประกาศ ประกาศ กกท ที่ 2/2557 ต้องใช้แบบฟอร์มใดในการขอสิทธิ์ดังกล่าวคะ
ขอบคุณค่ะ
ให้ยื่นแก้ไขโครงการตามแบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) ครับ
ขออนุญาตย้อนกลับมาถามอีกรอบค่ะ ตามประกาศ กกท ที่ 2/2557 ข้อ 10 ระบุว่าบริษัทที่ได้รับส่งเสริมในกิจการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน ยังสามารถขอนำเครื่องจักรเข้ามาปรับปรุงหรือทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกำลังผลิตได้ โดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร แม้จะเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วก็ตาม
แต่ไม่มีคำว่ากิจการเครื่องใช้ไฟฟ้า (ของบริษัทเป็น 5.1 และ 5.3) ถ้าอย่างนี้กิจการ 5.1 และ 5.3 ต้องไปดูประกาศไหนเหรอคะ
ล่าสุดทางแหลมฉบังไม่อนุมัติให้ยกเว้นภาษีเครื่องจักรเข้ามาแล้วค่ะ (ทั้งที่ก่อนหน้านี้บริษัทก็ได้รับยกเว้นเกินตอนเปิดดำเนินการมาหลายเครื่องแล้ว)
ในบัตรส่งเสริมระบุสิทธิประโยชน์การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร เป็น "ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม" หรือไม่ครับ
ใช่คะ ระบุ่ว่า "ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม"
บริษัทได้ยื่นขอเพิ่มรายการเครื่องจักร โดยระบุเหตุผลในการขอเพิ่มรายการว่าอย่างไร
และก่อนที่จะพิจารณาไม่อนุมัติ จนท ได้แจ้งเหตุผลให้ทราบ หรือให้บริษัทแก้ไขข้อมูลหรือไม่ ครับ
(สรุปคือ แอดมินไม่เข้าใจว่า บริษัทยื่นขอเพิ่มรายการเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกำลังผลิต หรือเพื่ออะไร
จึงยังไม่สามารถให้คำตอบ/คำแนะนำได้ ครับ)
ยื่นเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตค่ะ เหตุผล คือ เห็นควรไม่อนุมัติ เนื่องจากเกินกำลังการผลิตตามบัตรส่งเสริม
เครื่องจักรที่จะอนุมัติให้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า จะต้องเป็นไปตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม คือ มีกำลังการผลิตตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม
ดังนั้น การที่ BOI แหลมฉบัง ไม่อนุมัติให้เพิ่มรายการเครื่องจักร เพื่อเพิ่มกำลังผลิตเกินกว่าบัตรส่งเสริม แอดมินจึงเห็นว่าน่าจะถูกต้องแล้ว
ตามคำตอบ #3 ประกาศ กกท ที่ 6/2549 ไม่ได้ถูกยกเลิกโดยประกาศ กกท ที่ 2/2557
บริษัทที่ได้รับส่งเสริมในกิจการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วน จึงยังสามารถขอนำเครื่องจักรเข้ามาปรับปรุงหรือทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกำลังผลิตได้ โดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร แม้จะเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วก็ตาม
โดยจะต้องยื่นขอแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังผลิตให้เสร็จสิ้นก่อน แล้วจึงขอแก้ไขบัญชีรายการเครื่องจักร เพื่อเพิ่มรายการ/ปริมาณเครื่องจักรต่อไป
การขอแก้ไขโครงการโดยมีการลงทุนเพิ่ม มีประกาศ สกท ที่ ป.3/2547 กำหนดเงื่อนไขไว้ว่า จะต้องยังไม่เปิดดำเนินการเต็มโครงการ
แต่ประกาศ กกท ที่ 6/2549 เป็นประกาศที่ออกมาภายหลัง และมีศักดิ์ใหญ่กว่า
จึงสามารถอ้างหลักเกณฑ์ตามประกาศ กกท ที่ 6/2549 ได้
โดยในเบื้องต้น แนะนำให้ติดต่อกับ จนท วิเคราะห์โครงการ กองส่งเสริมการลงทุน 2 ที่รับผิดชอบกิจการเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อปรึกษาเรื่องการขอแก้ไขกำลังผลิต ของโครงการที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว เพื่อนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมต่อไป ครับ
เรียน แอดมิน
ขอสอบถามดังนี้ค่ะ บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เปิดดำเนินการแล้ว และมีกำลังการผลิตตามบัตรฯ ปีละ 25,000,000,000 ชิ้น/ปี สมมุติว่า
มีเครื่องจักรหลักที่ใช้นับกำลังการผลิตในโครงการที่นำเข้าแล้วจำนวน 21 เครื่อง โดยมีกำลังการผลิตรวมทั้งหมดจำนวน 48,000,000,000 ชิ้น/ปี
บริษัทอยากทราบว่า ถ้ากำลังการผลิตของเครื่องจักรในโครงการสามารถผลิต ได้มากกว่า กำลังการผลิตตามบัตรฯ
บริษัทต้องขอแก้ไขกำลังการผลิตในบัตรฯ หรือไม่คะ เพื่อให้ได้เท่ากับกำลังการผลิตของเครื่องจักรที่ผลิตได้จริง ( บัตรส่งเสริมไปขอแก้ไข ให้ได้กำลังการผลิตตามที่ผลิตได้จริง )
รบกวนขอคำแนะนำค่ะ
หลักเกณฑ์ปกติ
1. ปกติ BOI จะตรวจสอบเปิดดำเนินการ โครงการละ 1 ครั้งเท่านั้น
2. การแก้ไขโครงการโดยมีการลงทุนเพิ่ม (เช่น เพื่อเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์ หรือเพิ่มกำลังผลิต)
จะมีเงื่อนไขว่า ต้องเป็นกรณีที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการ และยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ
เพื่อป้องกันไม่ให้โครงการที่เปิดดำเนินการแล้วมีการลงทุนเพิ่ม เนื่องจากจะไม่ BOI จะไม่ตรวจสอบเปิดดำเนินการเป็นรอบที่ 2 อีก
การแก้ไขกำลังผลิตหลังเปิดดำเนินการ
3. กิจการอิเล็กทรอนิกส์ ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดระยะที่ได้รับส่งเสรืม
จึงอาจเป็นไปได้ว่า อาจมีการนำเข้าเครื่องจักรเพื่อปรับปรุงทดแทนเครื่องจักรเดิม ภายหลังจากได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว
และทำให้กำลังผลิตที่ผลิตได้จริง มีมากกว่าที่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการ
4. การให้สิทธิเครื่องจักรตลอดไป เป็นเพียงการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรให้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม
แต่ไม่มีข้อความใดระบุว่า จะให้กำลังผลิตที่อาจเพิ่มขึ้น ได้รับสิทธิทางภาษีเงินได้ด้วย
นอกจากนี้ บริษัทไม่ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังผลิต (ซึ่งอาจไม่อยู่ในข่ายจะขอยื่นแก้ไขโครงการ)
บริษัทเพียงแค่นำเครื่องจักรเข้ามาหลังจากเปิดดำเนินการแล้ว ตามสิทธิมาตรา 28 ที่ได้รับ แล้วทำให้กำลังผลิตเกิน
ตามที่แอดมินเข้าใจคือ กรณีนี้จะไม่มีการตรวจสอบเปิดดำเนินการเป็นครั้งที่ 2
โดย BOI จะยังคงยึดถือกำลังผลิตตามผลการตรวจสอบเปิดดำเนินการในครั้งแรก ครับ