บริษัทฯ มีบัตรส่งเสริม
1. บัตรส่งเสริม ประเภท 6.12 การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกหรือเคลือบด้วยพลาสติก ( ฉีดขึ้นรูป)
2. บัตรส่งเสริม ประเภท 5.3 การผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า และ 5.5 การผลิตชิ้นส่วนและ/หรืออุปกรณ์ หรือชิ้นส่วนและ/หรืออุปกรณ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
3.บัตรส่งเสริม ประเภท 6.9 การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกหรือเคลือบด้วยพลาสติก (ฉีด,พ่น.ประกอบบางส่วน)
คำถาม
1. เราจะดำเนินการ นำพลาสติกใสม้วนขนาดใหญ่ Sipe plastic ( -ขนาดม้วน/ตัน ) เข้ามาดำเนินการตัดให้ได้ขนาดต่างๆตามลูกค้าต้องการโดยบรรจุ ตรวจสอบ ส่งขาย ในประทศหรือต่างประเทศ โดยลูกค้าจะนำไปประกอบผลิตชิ้นส่วนแผงวงจรอิเลกทรอนิก
สามารถขอใช้สิทธิในบัตรที่มีอยู่ หรือ ไม่สามารถเข้าข่ายใดๆได้ หรือต้องขอโครงการใหม่ในกิจการ IPO ได้หรือไม่คะ
1. บัตรส่งเสริมทั้ง 3 ฉบับของบริษัท น่าจะไม่มีขั้นตอนการตัดแผ่นพลาสติกม้วน
- การจะนำเข้าแผ่นพลาสติกม้วน มาตัด จำหน่าย จึงไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับโครงการที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิม
2. กิจการ IPO บางกรณีอนุญาตให้มีขั้นตอนการว่าจ้างตัดหรือประกอบได้
- การจะนำเข้าแผ่นพลาสติกม้วน เพื่อว่าจ้างผู้อื่นตัดตามขนาด และนำไปจำหน่าย อาจอยู่ในข่ายที่จะขอรับส่งเสริมในกิจการ IPO ได้ โดยรายละเอียดขอให้ปรึกษากับ จนท BOI ที่รับผิดชอบกิจการ IPO โดยตรง ครับ
คือเราจำนำเข้า พลาสติกฟิล์มใส้เป็นม้วนขนาดใหญ่ และนำเข้ามาตัดเองคะโดยจะนำเข้าเครื่องจักรเอง ตัดเป็น ม้วนเล็กๆตามขนาดที่ลูกค้าต้องการ
ตัดเเล้วไปตรวจสอบบรรจุคะ และขายเองไปยังลูกค้ามีทั้งในประเทศและต่างประเทศคะ
เพิ่มเติมคะ จากข้อ1 ไม่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของบัตรส่งเสริมเดิมคะ
การจะนำเข้าแผ่นฟิล์มพลาสติกม้วน มาตัดขึ้นรูป โดยมีการลงทุนเครื่องตัด เครื่องตรวจสอบ เครื่องบรรจุ
1. อาจให้ส่งเสริมในประเภท 6.6 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับอุุตสาหกรรม
- มีเงื่อนไขต้องมีกระบวนการขึ้นรูปพลาสติก ซึ่งการตัดเป็นแผ่นตามขนาด/รูปทรงที่ต้องการ อาจเข้าข่ายเงื่อนไขการขึ้นรูป แต่ถ้าเป็นการตัดจากม้วนใหญ่เป็นม้วนเล็ก อาจไม่เข้าข่ายเงื่อนไขการขึ้นรูป
- ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 20% ของรายได้
- ได้รับสิทธิประโยชน์ตามประเภท B1 คือได้รับสิทธิทางภาษี เฉพาะการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ
2. อาจให้ส่งเสริมในประเภท 5.4.19 กิจการผลิตชิ้นส่วนสำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
- ต้องเป็นการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น คือจะต้องระบุชนิดผลิตภัณฑ์ให้เจาะจงเป็นการเฉพาะ เช่น แผ่นฟิล์มพลาสติกสำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 10% ของรายได้
- ได้รับสิทธิประโยชน์ตามประเภท B1 คือได้รับสิทธิทางภาษี เฉพาะการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ ครับ
ขออนุญาตความหมายของ ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 10 %ของรายได้คะ
มูลค่าเพิ่มมีแนวทางในการคำนวณดังนี้
มูลค่าเพิ่ม = (รายได้ - ค่าวัตถุดิบ - ค่าบริการที่มาจากแหล่งอื่น) / รายได้ x 100%
โดยค่าบริการที่มาจากแหล่งอื่น เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าจ้างทำของ เป็นต้น ครับ
ขอบพระคุณมากคะ
สอบถามเพิ่มเติมคะ
1. ถ้าเราจะขอรับเป็นประเภท IPO แทนได้ไหมคะ
การจะนำเข้าแผ่นฟิล์มพลาสติกม้วนใหญ่ มาตัดให้เป็นม้วนเล็กๆเเล้วเเต่ขนาดตามความต้องการของลูกค้า อย่างเดียว โดยไม่ได้ตัดไปใช้หรือประกอบกับอะไรเลย
โดยมีการลงทุนเครื่องตัด เครื่องตรวจสอบ เครื่องบรรจุ ขายให้ลูกค้าในประเทศและต่างประเทศคะ
2. หรืออาจให้ส่งเสริมในประเภท 5.4.19 กิจการผลิตชิ้นส่วนสำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ตามที่เเจ้งไปด้านบน
- ต้องเป็นการผลิตสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น คือจะต้องระบุชนิดผลิตภัณฑ์ให้เจาะจงเป็นการเฉพาะ เช่น แผ่นฟิล์มพลาสติกสำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่า 10% ของรายได้
- ได้รับสิทธิประโยชน์ตามประเภท B1 คือได้รับสิทธิทางภาษี เฉพาะการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ
เเต่ ทางบริษัท มี 5 บัตร เเละทั้งหมดเคยยื่นทุนจะทะเบียน 150 ล้านบาทและ ขอแก้ไขลดทุนเหลือ 50 ล้านบาท 100 ล้านขอเป็น Trading คะ
แบบนี้ต้องใช้เงินลงทุนยังไงคะ ถ้าเปิดโครงการใหม่
ตอบคำถามดังนี้ครับ
1. กรณีที่จะลงทุนเครื่องตัดเอง จะเข้าข่ายกิจการผลิต จึงไม่น่าจะขอรับส่งเสริมในข่ายกิจการ IPO ได้
2. กรณีที่จะขอรับส่งเสริมในข่ายกิจการประเภท 5.4.19
2.1 จะต้องมีขนาดการลงทุนขั้นต่ำ (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) เฉพาะสำหรับกิจการส่วนนี้ ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท ได้แก่
- ค่าก่อสร้าง (เฉพาะการก่อสร้าง/ต่อเติม อาคารสำนักงาน โรงงาน โกดังสินค้า เฉพาะที่เกี่ยวกับกิจการใหม่ส่วนนี้โดยตรง)
- ค่าเครื่องจักร เช่น เครื่องตัด เครื่องตรวจสอบ เครื่องบรรจุ
2.2 กรณีที่กิจการเดิมมีผลประกอบการในเกณฑ์ที่เหมาะสม (คือ มีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้นไม่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด) สามารถลงทุนในกิจการใหม่โดยใช้เงินกู้ทั้งหมด โดยไม่ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนก็ได้ ครับ
กรณีที่จะขอรับส่งเสริมในข่ายกิจการประเภท 5.4.19
ในส่วนของเครื่องจักรต้องเป็นเครื่องจักรใหม่อย่างเดียวหรือ
เครื่องจักรเก่าได้ไหมคะ
การใช้เครื่องจักรเก่าใช้แล้วจากต่างประเทศในโครงการที่ขอรับส่งเสริม จะต้องเป็นไปตาม ประกาศ กกท ที่ 2/2557 ข้อ 6.1.3 และแก้ไขเพิ่มเติมตาม ประกาศ กกท ที่ 6/2558 ครับ
ขอบคุณคะ
กรณีเครื่องจักรเก่าคือยืนยันจะใช้เครื่องจักรเก่า ถึงจะไม่ได้สิทธิธิประโยชน์ เเต่ก็ยังสามารถนำเข้ามาใช้ในโครงการได้ใช่ไหมคะ
เมื่อขอรับการส่งเสริม
การใช้เครื่องจักรเก่าในโครงการ หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในประกาศข้างต้น จะไม่สามารถใช้เครื่องจักรเก่าได้ แม้จะนำเข้าโดยชำระภาษีก็ตาม ครับ
เราสามารถใช้สถาบันในประเทศรับรองเครื่องจักรได้หรือไม่ หลังจากที่นำเข้ามาเเล้ว
การนำเครื่องจักรเก่าใช้แล้วจากต่างประเทศ (กรณีเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ BOI กำหนด)
สามารถดำเนินการขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าได้ 2 วิธีคือ
1) นำเครื่องจักรเข้ามาโดยชำระภาษีอากรไปก่อน จากนั้นจึงทำใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่าจากหน่วยงานในประเทศ แล้วจึงยื่นขออนุมัติสั่งปล่อยคืนอากร ซึ่งจะได้รับคืนเฉพาะอากรขาเข้า
2) ทำใบรับรองประสิทธิภาพจากหน่วยงานในต่างประเทศ ก่อนนำเครื่องจักรเข้ามาในประเทศ แล้วยื่นขอสั่งปล่อยยกเว้นภาษีอากร พร้อมแนบใบรับรองประสิทธิภาพฯ ก่อนผ่านพิธีการขาเข้า ซึ่งจะได้รับยกเว้นทั้งอากรขาเข้า และได้รับการค้ำประกันและถอนประกัน VAT ครับ
สอบถามข้อกำหนด กิจการที่จะเข้าข่าย เป็น A1 A2 A3 A4 B1 B2
นั้นเราจะทราบได้อย่างไรเงื่อนไขตรงนี้ กำหนดจากอะไรคะ ว่าจะเข้า A1 A2 A3 A4
เช่น A1 ต้องกิจการอะไร ถึงจะได้ A1
ประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริม และสิทธิประโยชน์ (กลุ่ม A1-4, B1-2)
สามารถดูได้จาก เว็บไซต์ของ BOI
แต่จัดเรียงตามประเภทกิจการ ไม่ได้จัดเรียงตามกลุ่มสิทธิประโยชน์ ครับ
พอดีไปอ่านเพิ่มเติ เกี่ยวกับ สิทธิ BOI = BCG(Bio Circular Green Economy) ว่า ธุรกิจ slit film บริษัทฯ สามารถเข้าเงื่อนไข หรือไม่ ?
ต้องมีเงื่อนไขอะไรถึงจะข้าข่าย BCG นี้คะ
แผนการพัฒนาอุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) เป็นมาตรการของกระทรวงอุตสาหกรรม
โดยในส่วนของ BOI ได้มีการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ของกิจการบางประเภท ให้สอดรับกับแผน BCG
แต่ไม่ได้ออกเป็นประกาศเกี่ยวกับมาตรการ BCG โดยการกำหนดเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่จะให้เพิ่มเติม ในลักษณะเดียวกับมาตรการอื่นๆ เช่น มาตรการปรับปรุงประสิทธิการผลิต เป็นต้น
คือ หากอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นกิจการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ในระดับที่สูงอยู่แล้ว ก็อาจไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์
แต่หากอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นกิจการที่ได้รับสิทธิประโยชน์น้อย ก็จะปรับปรุงเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ให้สูงขึ้น
เช่น ล่าสุด BOI ได้แก้ไขปรับปรุงสิทธิประโยชน์ของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ ในกิจการประเภท 6.5, 6.7.1, 6.7.4, 6.8, 6.12 และ 6.13 ตาม ประกาศ กกท ที่ ส.5/2564 เป็นต้น
สำหรับกิจการที่สอบถาม อาจจะต้องตรวจสอบจากประกาศ BOI ว่ามีการออกประกาศปรับปรุงสิทธิประโยชน์ของกิจการนั้นๆ หรือไม่
หากไม่มี ก็ยังคงให้การส่งเสริมตามสิทธิประโยชน์เดิม ครับ
เรียน แอดมิน
ขอสอบถามดังนี้ค่ะ
การขอรับการส่งเสริมการลงทุนปกติ (ทั่วไป) มีข้อแตกต่างกับการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อย่างไรคะ
ถ้าบริษัทต้องการขอรับการส่งเสริมการลงทุน และตั้งอยู่ในจังหวัดในเขต (EEC) รบกวนขอคำแนะนำค่ะ