FAQ108 108 คำถามเพื่อการลงทุน

BOI
กรมศุลกากร
KM-IC
หลักสูตรฝึกอบรม BOI, IC, ศุลกากร
one-on-one Training
in-house Training
IC counter service
counter service

ความรู้ทั่วไป / งานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ / งานศุลกากร
license fee จากบริษัทแม่
1 - 5 จาก 5 คำตอบ
page: 1/1
ZATH เมื่อ 7 กค 64, 11:40 น.

หากบริษัทแม่มีการเรียกเก็บ ค่า license fee จากสินค้าที่ขายได้ เช่น 5 เปอร์เซนต์จากยอดขาย โดยวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตสินค้า (มีทั้งนำเข้าโดยใช้และไม่ใช้ ม.36) นำเข้ามาจากบางส่วนบริษัทแม่ และบางส่วนนำเข้าบริษัทอื่นๆ

 

กรณีนี้ไม่แน่ใจว่าจะเกี่ยวข้องกับราคาวัตถุดิบที่ต้องสำแดงตอนนำเข้าหรือไม่คะ (ต้องบวกเพิ่มอะไรหรือไม่) ทั้งในส่วนที่นำเข้ามาจากบริษัทแม่ และในส่วนที่นำเข้าบริษัทอื่นๆ

 

ADMIN เมื่อ 7 กค 64, 15:31 น. #1

เนื่องจากไม่ได้เป็นคำถามที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ข้อกำหนดของ BOI จึงขอตอบตามความเห็นส่วนตัวดังนี้

ข้อเท็จจริง บริษัทนำเข้าวัตถุดิบจากบริษัทแม่ โดยมีเงื่อนไขต้องจ่ายค่า License Fee จากราคาสินค้าที่ขายได้ 5%

ความเห็น

1. ค่า Royalty และ License Fee ต้องนำมารวมไว้ในราคาศุลกากรด้วย ตาม ประกาศกรมศุลกากร ที่ 133/2561 หน้า 72
รายละเอียดขอให้สอบถามกับ บ.ชิปปิ้ง และกรมศุลกากร โดยตรง

2. การจ่ายค่า License ของวัตถุดิบ ตามราคาขายสินค้า เป็นปกติวิสัยของการประกอบธุรกิจหรือไม่
เช่น หากบริษัทประกอบธุรกิจ IPO/ITC คือ ซื้อมาขายไป ก็อยู่ในวิสัยที่เข้าใจได้
แต่หากบริษัทประกอบธุรกิจการผลิต โดยนำเข้าวัตถุดิบจากบริษัทแม่ 1 ชิ้น ราคา 100 บาท และผลิตเป็นสินค้าจำหน่ายในราคา 10,000 บาท หากต้องจ่ายค่า License 5% ของราคาสินค้า = 500 บาท ก็อาจไม่เป็นปกติวิสัยของการประกอบธุรกิจ
จึงควรสอบถามกับผู้ทำบัญชี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพากร ว่าจะเข้าข่ายการกำหนดราคาซื้อขายที่ไม่ใช่เป็นราคาตลาดหรือไม่ ครับ

ZATH เมื่อ 8 กค 64, 16:23 น. #2

ข้อเท็จจริง บริษัทนำเข้าวัตถุดิบจากบริษัทแม่ โดยมีเงื่อนไขต้องจ่ายค่า License Fee จากราคาสินค้าที่ขายได้ 5%

จากประโยคด้านบน ไม่แน่ใจว่าทางแอดมินตีความว่าการนำเข้าวัตถุดิบจากบริษัทแม่ มีเงื่อนไขต้องจ่ายค่า License Fee จากราคาสินค้าที่ขายได้ หรือเปล่าคะ -- ในความเป็นจริง มีเงื่อนไขแค่ว่า เก็บค่า License Fee จากราคาสินค้าที่ขายได้ 5% แต่การนำเข้าวัตถุดิบไม่ได้มีเงื่อนไขเกี่ยวข้องกับประเด็น License Fee นี้แต่อย่างใดค่ะ

 

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับความเห็นข้อแรกจะนำไปปรึกษาในรายละเอียดกับทางกรมศุลฯอีกทีค่ะ

ส่วนประเด็นข้อ 2 เรื่องที่ว่าจะเข้าข่ายการกำหนดราคาซื้อขายที่ไม่ใช่เป็นราคาตลาดหรือไม่ ขอแยกส่วนด้งนี้ค่ะ

 

1) ราคาขาย -  เข้าใจว่าแอดมินหมายถึงในกรณีนี้ราคาขายจริงๆควรเป็น 10500 บาท แต่รายงานเป็น 10000 บาท หรือเปล่าคะ

 

2) ราคาซื้อ - ตรงนี้ไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไรนะคะ หรือหมายถึงว่าราคาซื้อควรเป็นราคาที่บวกค่าLicense Fee จากราคาสินค้าที่ขายได้ เข้าไปในราคาวัตถุดิบด้วย หรือคะ

 

 

ADMIN เมื่อ 9 กค 64, 12:40 น. #3

หากการจ่ายค่า License Fee มีความเกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัตถุดิบ ให้นำค่า License Fee ไปรวมไว้ในราคาวัตถุดิบ ตามคำตอบข้างต้น

แต่หากการจ่ายค่า License Fee ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัตถุดิบ จะต้องยื่นชำระภาษีอากรค่า Licence Fee โดยคำนวณพิกัดภาษีตามสินค้าที่ได้รับอนุญาตตาม License Fee นั้นๆ แต่วันที่จะต้องสำแดงต่อกรมศุลกากร ไม่แน่ใจว่าจะต้องเป็นวันใด เช่น วันที่ได้รับใบอนุญาต หรือวันที่เริ่มผลิต หรือวันที่เริ่มจำหน่าย เป็นต้น ครับ

ZATH เมื่อ 9 กค 64, 17:13 น. #4

อีกคำถามนะคะ หากกรณีที่เราซื้อวัตถดิบจากบริษัท ก. ในต่างประเทศ โดยเราตกลงชำระค่าแม่พิมพ์ให้ผู้ผลิต (เราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในแม่พิมพ์ด้งกล่าว) เพื่อใช้ในการผลิตวัตถุดิบที่เราซื้อจาก บริษํท ก. ดังกล่าว หากเราจะนำอินวอยซ์ค่าแม่พิมพ์นั้นไปชำระภาษีนำเข้า พร้อมกับการนำเข้าวัตถุดิบในลอตเดียว เราสามารถนำได้รับสิทธิ ม.36 พร้อมกับวัตถุดิบด้วยหรือไม่คะ

ตย เช่น ค่าแม่พิมพ์ 3000 ยูโร ค่าวัตถุดิบในลอตนั้น 3000 ชิ้น 4500 ยูโร รวมราคาทั้งอินวอยซ์ 3000+4500 = 7500 ยูโร ภาษีนำเข้า ม.36 0% = 0 บาท หรือไม่คะ

(กฎกระทรวงการกําหนดและการใช้ราคาศุลกากร พ.ศ. 2560 หน้า 53 ระบุว่าให้นำมารวมไว้ในราคานำเข้าตามสัดส่วนอย่างเหมาะสม แต่ได้โทรไปปรึกษาทางกรมศุล จนท แนะนำว่าเห็นบริษัทมักจะนำมารวมในอินวอยซ์วัตถุดิบชิปเมนท์เดียวแล้วเสียอากรก้อนเดียวไปเลย เพราะการชี้แจงแต่ละชิปเมนท์จนกว่าจะครบยอดเงินของแม่พิมพ์อาจจะยุ่งยากไป)

 

ส่วนในเรื่อง License Fee จนท ท่านเดียวกันให้ความเห็นว่าหากเป็นกรณีค่า License Fee ไม่ได้เกี่ยวข้องกับค่าวัตถุดิบ ก็ไม่จำเป็นต้องนำมาชำระภาษีค่ะ อันนี้เหมือนจะเป็นความเห็นต่างกับแอดมินนะคะ

ADMIN เมื่อ 12 กค 64, 12:14 น. #5

1. บริษัท A (ในประเทศ) จ้างให้บริษัท B (ต่างประเทศ) ผลิตแม่พิมพ์ให้ในราคา 1 ล้านบาท และจ้างให้นำแม่พิมพ์นั้นไปผลิตวัตถุดิบจำนวน 200,000 ชิ้น ในราคาชิ้นละ 1 บาท แล้วจึงนำเข้าวัตถุดิบนั้นเข้ามาในประเทศ

    ในกรณีเช่นนี้ วัตถุดิบที่นำเข้าจากบริษัท B ในราคาชิ้นละ 1 บาทนั้น จะต้องนำค่าแม่พิมพ์มาเฉลี่ยเป็นราคาที่แท้จริงของวัตถุดิบด้วยในราคาชิ้นละ 1,000,000 / 200,000 = 5 บาท จึงต้องสำแดงราคาวัตถุดิบที่นำเข้าในราคา 1+5 = 6 บาท โดยในการขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 สามารถสั่งปล่อยภายใต้รายการของวัตถุดิบนั้นๆ โดยตรง โดยไม่ต้องแยกสั่งปล่อยเป็นรายการค่าบริการทางวิศวกรรมเช่นเดียวกับกรณีของเครื่องจักร

    กรณีที่บริษัท A จะไม่เฉลี่ยค่าแม่พิมพ์ตามจำนวนการผลิตวัตถุดิบทั้งหมด แต่จะเฉลี่ยค่าแม่พิมพ์ในการนำเข้าวัตถุดิบที่นำเข้าล็อตแรกล็อตเดียวให้ครบตามมูลค่าแม่พิมพ์ เช่น นำเข้าวัตถุดิบล็อตแรก 2,000 ชิ้น เฉลี่ยเป็นค่าแม่พิมพ์เต็มมูลค่า =  1,000,000 / 2,000 = 500 บาท และสำแดงราคาวัตถุดิบในล็อตนี้เป็น 1 + 500 = 501 บาท ส่วนการนำเข้าวัตถุดิบล็อตต่อๆไป สำแดงราคาเป็น 1 บาท เนื่องจากเคยสำแดงราคาแม่พิมพ์ไปครบถ้วนแล้วนั้น จะกระทำได้และเหมาะสมหรือไม่อย่างไร ขึ้นกับการพิจารณาของกรมศุลกากร

2. ส่วนการซื้อ License Fee จากต่างประเทศ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัตถุดิบนั้น ขอให้สอบถามกับกรมศุลกากรโดยตรง โดยควรสอบถามเป็นลายลักษณ์อักษร และหากได้คำตอบอย่างไร หากจะช่วยแจ้งให้ทราบด้วย จะขอบคุณมากครับ